วิธีตรวจสอบเหล็กมาตราฐาน (หรือเหล็กเต็ม)

หลายคนที่เคยมีประสบการณ์ใช้เหล็กเส้นก่อสร้างหรือเหล็กโครงสร้าง อาจเคยได้ยินคำว่า เหล็กเต็ม กับ เหล็กไม่เต็ม (หรือที่เรียกทั่วไปว่าเหล็กเบา) กันบ้างไม่มากก็น้อย แล้วจริงๆมันต่างกันอย่างไร และเราจะดูได้อย่างไรว่าเหล็กที่เรานำมาใช้เป็นเหล็กแบบไหนควรทำมาใช้งานหรือไม่

เหล็กเต็ม คือ เหล็กที่ผลิตได้ตามมาตราฐานของ สมอ. (สำนักงานมาตราฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) ซึ่งเราเรียกมาตราฐานนี้ว่า มอก. คือ มีเส้นผ่านศูนย์กลางได้ขนาดและน้ำหนักตามที่กำหนดไว้

ส่วนเหล็กไม่เต็ม (เหล็กเบา) คือ เหล็กที่ผลิตไม่ตรงตามข้อกำหนดของ สมอ. หรือ เหล็กที่ผ่านการใช้งานมาแล้วและนำมารีดใหม่เพื่อใช้ซ้ำ ซึ่งอาจส่งผลให้งานโครงสร้างแตกหักเสียหายและเกิดอันตรายตามมาได้

3 วิธีง่าย ๆ ในการตรวจสอบเหล็กด้วยตัวเอง ทำได้โดย

  1. สังเกตขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหรือหน้าตัดเหล็กที่ต้องมีขนาดเท่ากันตลอดความยาวเส้น ผิวเหล็กเรียบ ไม่มีรูตามดหรือเป็นลูกคลื่น และหน้าตัดเหล็กไม่บิดเบี้ยว
  2. ดูจาก ‘ใบกำกับเหล็ก’ (Name Plate) ที่จะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับเหล็ก เช่น ชนิด ขนาด ความยาว เป็นต้น แต่ที่สำคัญที่สุดบนใบกำกับเหล็ก คือ เครื่องหมาย มอก. แต่หากเราสั่งเหล็กจำนวนไม่เยอะหรือใบกำกับหลุดหาย สามารถหาตัวหนังสือมอก.ที่ปั๊มมาเป็นระยะๆบนเนื้อเหล็กตลอดความยาวของเหล็กเส้นนั้นได้
  3. ชั่งน้ำหนักเหล็ก โดยการตัดเหล็กออกมา 1 เมตรแล้วนำไปชั่ง หากได้น้ำหนักตามที่สมอ.กำหนด แสดงว่าเหล็กนั้นเป็นเหล็กเต็มได้มาตราฐาน

อย่างไรก็ตามเหล็กเต็มหรือเหล็กไม่เต็ม สามารถนำมาใช้ในงานก่อสร้างได้ทั้งหมด เพียงแต่เราต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานนั้นๆและคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดกับผู้ใช้งานจริง อย่าคิดเพียงลดต้นทุนซึ่งอาจส่งผลเกิดปัญหามากมายขึ้นภายหลังก็เป็นได้

เครดิต https://luckymetal.co.th/steelcheck/