วิธีการตรวจสอบเหล็ก มอก. ด้วยสองมือเปล่า

วิธีการตรวจสอบเหล็ก มอก. ด้วยสองมือเปล่า

ภาคต่อจาก EP. ที่แล้วที่ว่าด้วยเหล็กเบา เหล็กเต็ม… วันนี้เราจึงรวบรวมวิธีการตรวจสอบเหล็กที่ได้ มาตราฐาน มอก. อย่างง่ายๆกันครับ ไม่ต้องใช้เครื่องตรวจวัด ใช้แค่ 2 มือน้อยๆของเรานี่หละครับ

1.ตรวจสอบด้วยตาเปล่า : ให้สังเกตที่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหรือหน้าตัดเหล็กซึ่งต้องเท่ากันตลอดความยาวเส้น ผิวเหล็กเรียบ หน้าตัดเหล็กไม่บิดเบี้ยว ไม่มีรูตามดหรือเป็นลูกคลื่น

2.ตรวจสอบได้จากป้ายรายละเอียดข้อมูลหรือ “ใบกำกับเหล็ก” ซึ่งจะระบุข้อมูลสำคัญต่างๆ เอาไว้ครบถ้วน อย่างเช่น ชื่อบริษัท ประเภทสินค้า ชั้นคุณภาพ  ขนาด ความยาว จำนวนเส้นต่อมัด เลขที่เตาหลอม วัน/เวลาที่ผลิต หรือเลขที่ มอก. แต่ใบกำกับเหล็กจะมากับเหล็กล็อตใหญ่ หากเราสั่งเพียงไม่กี่เส้นหรือใบกำกับหล่นหาย เราสามารถสังเกตได้จากรอยประทับตรา มอก. และรายละเอียด บนผิวเหล็ก ซึ่งรอยประทับเหล่านี้จะปรากฏอยู่ตลอดทั้งความยาวของเหล็ก

3.การชั่งน้ำหนัก : นำเหล็กที่เราจะตรวจสอบมาตัดให้ได้ขนาด 1 เมตร แล้วเอาไปชั่งน้ำหนัก หากชั่งแล้วน้ำหนักอยู่ในมาตราฐานของ สมอ. แสดงว่าเหล็กนี้ได้มาตราฐาน หรือเป็นเหล็กเต็ม เช่น

เหล็กเส้นกลม หรือ Round Bar (RB) ขนาดที่ใช้บ่อย คือ 6, 9, 12 มม.

ขนาดเหล็ก (มม.) : น้ำหนัก 1 เมตร (กก.)

6 มม. : 0.222

9 มม. : 0.499

12 มม. : 0.888

เหล็กเส้นข้ออ้อย หรือ Deform Bar (DB) ขนาดที่ใช้บ่อย คือ 10, 12, 16 มม.

ขนาดเหล็ก (มม.) : น้ำหนัก 1 เมตร (กก.)

10 มม. : 0.616

12 มม. : 0.888

16 มม. : 1.578

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สมอ. ก็ให้โอกาสความคลาดเคลื่อนของเหล็กรูปพรรณที่ยังถือว่าอยู่ในมาตราฐาน มอก. ขอยกตัวอย่างเหล็กรูปพรรณตามมาตราฐาน มอก 1228 – 2549 สำหรับโครงสร้างรูปพรรณขึ้นรูปเย็น ซึ่งก็คือมาตราฐานของเหล็กที่ผลิตโดย บริษัท SMK สตีล นั่นเองครับ

คุณภาพของเหล็กมีความสำคัญมากโดยเฉพาะเหล็กที่ใช้เป็นเหล็กโครงสร้าง หากเราใช้เหล็กที่ไม่ได้มาตราฐานเพียงพอ ผลกระทบย่อมเกิดกับผู้ใช้งานอยางแน่นอนครับ ดังนั้นโปรดให้ความสำคัญ

เครดิต:  scgbuildingmaterials.com