ปัจจัยที่มีผลต่อความผันผวนของราคาเหล็กในตลาดโลก

สงสัยไหมว่า ทำไมราคาเหล็กในแต่ละโรงงานผลิตล้วนมีความผันผวนปรับเปลี่ยนไปมาได้ตลอดเวลา ไม่เหมือนวัสดุบางประเภทที่ราคาค่อนข้างนิ่งสามารถวางแผนการใช้งานได้ล่วงหน้าอย่างไม่ต้องกังวล เพื่อให้ทุกท่านสามารถคาดเดาประเมินราคาเหล็กได้ล่วงหน้า SMK Steel จึงขอมาบอกต่อปัจจัยที่มีผลต่อความผันผวนของราคาเหล็กในตลาดโลกในบทความนี้

 

อุปสงค์และอุปทาน

ไม่ว่าจะสินค้าอะไรก็ตามบนโลกใบนี้ ราคาล้วนหมุนไปตามกลไกของอุปสงค์และอุปทาน เมื่อใดที่ความต้องการซื้อมากกว่าขายราคาจะสูงขึ้น แต่เมื่อใดที่ความต้องการขายมากกว่าซื้อราคาจะต่ำลง เช่นเดียวกับสินค้าอุปโภคบริโภคทุกประเภท จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า อุปสงค์และอุปทานเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดราคาเหล็กให้เกิดความผันผวนไปมาได้แน่นอนตามหลักทั่วไป ยิ่งอุปสงค์มากและอุปทานยิ่งต่ำ ราคาก็ยิ่งสูงขึ้น หรือในทางกลับกัน ยิ่งอุปสงค์ต่ำและอุปทานยิ่งสูง ราคายิ่งถูกลง เพราะงั้นคุณจะสามารถวางแผนควบคุมและประหยัดต้นทุนในส่วนของวัตถุดิบให้ผลผลิตต้นทุนต่ำลงได้ก็จาก ‘เหล็ก’ นี่ล่ะ ซึ่งเอางบจากส่วนต่างตรงนี้ไปใช้ประโยชน์ต่อได้อีกไม่น้อยเลย

นอกจากนี้ ถึงแม้ว่า ราคาเหล็กจะไม่ได้ถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานจากเฉพาะในปัจจุบันเพียงอย่างเดียว แต่การจัดเก็บข้อมูลอุปสงค์และอุปทานจำนวนมหาศาลไม่เรียงจากอดีตถึงปัจจุบัน เพื่อคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า แนะนำว่า ยิ่งมีข้อมูลมากเท่าไรก็ยิ่งสามารถคาดการณ์ความผันผวนของราคาเหล็กได้ดีมากขึ้นเท่านั้น และการวางแผนคุมต้นทุนในส่วนของราคาเหล็กก็จะผันผวนน้อยลงเท่านั้น ด้วยความพยายามรับรู้ถึงสินค้าคงคลังในห่วงโซ่อุปทานในทุก ๆ การเชื่อมโยงตั้งแต่โรงถลุงเหล็กไปจนถึงผู้ใช้ปลายทาง สินค้าคงคลังสามารถทำหน้าที่แยกและปิดความสมดุลของอุปสงค์และอุปทานในระยะสั้น

 

แนวโน้มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

ปัจจัยในการผันผวนของราคาเหล็กไม่ใช่แค่ได้รับอิทธิพลเฉพาะปัจจัยจากอุปสงค์และอุปทานอย่างเดียว แต่ยังได้รับอิทธิพลจากความต้องการใช้งานของอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหล็กด้วย ตัวอย่างเช่น หากอุตสาหกรรมยานยนต์ (ที่ปกติจะต้องใช้เหล็กในการทำโครงสร้างและชิ้นส่วนยานยนต์ต่างๆ) มีความแข็งแกร่งได้รับความนิยมในตลาดเพิ่มมากขึ้น ความต้องการใช้เหล็กก็อาจสูงขึ้นและมีราคาเพิ่มสูงขึ้นได้ เช่นเดียวกับธุรกิจก่อสร้าง บรรจุภัณฑ์ และธุรกิจอื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้วัสดุประเภทเหล็กมาเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ จึงไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการใช้เหล็กและผู้ประกอบการผลิตเหล็กถึงจำเป็นต้องติดตามการเติบโตทางเศรษฐกิจและนโยบายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกันอยู่ตลอดเวลา

 

ต้นทุนของวัสดุ

เศษโลหะและแร่เหล็กเป็นวัสดุหลักสองชนิดที่ใช้ในกระบวนการผลิตเหล็ก หากทรัพยากรเหล่านี้มีจำนวนจำกัด อุปสงค์จะเกินอุปทาน และต้นทุนของวัสดุจะมีราคาที่ดันต้นทุนให้พุ่งสูงขึ้นตามกลไกของธรรมชาติ ดังนั้น ผู้ประกอบการที่จัดผลิตเหล็ก เช่นเดียวกับ SMK STEEL จึงมุ่งมั่นให้ความสำคัญกับต้นทุนของแต่ละวัตถุดิบก่อนจะกลายมาเป็นเหล็กชั้นปลายที่เตรียมพร้อมส่งถึงมือผู้ประกอบการที่สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง ไม่ว่าจะใช้งานเชิงโครงสร้าง ผลิตยานยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออะไรก็ตาม โดยเฉพาะเหล็กแผ่นที่มีความหนาพิเศษ นอกจากนี้ การติดตามต้นทุนด้านพลังงานยังสามารถเป็นตัวบ่งชี้ทั้งสภาวะตลาดและโครงสร้างต้นทุนโรงสี ต้องใช้ความร้อนมากในการหลอมเหล็ก

 

ค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง

เรื่องปกติของต้นทุน เมื่อราคาที่ต้องบวกเพิ่มเข้าไปไม่ได้มีปัจจัยแค่ในเรื่องของวัตถุดิบ กระบวนการผลิต จนเหล็กเหล่านี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ เพราะวัสดุที่ใช้สร้างเหล็กและสินค้าสำเร็จรูปอาจมีต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจัยในเรื่องของการขนส่งด้วย โดยเฉพาะหากจำเป็นต้องขนส่งไปยังปลายทางที่ไกลข้ามจังหวัดหรือต่างประเทศ ในบางพื้นที่ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะจัดส่งเหล็กขนาดใหญ่ไปถึงปลายทางก็จะมีการบวกเพิ่มต้นทุนในส่วนนี้มากขึ้น

ส่วนการนำเข้าหรือขนส่งไปยังต่างประเทศบางทีจะต้องพิจารณาถึงการเมือง นโยบายในการนำเข้าหรือผลิตเหล็ก ต้นทุนแรงงาน ไปจนถึงวัตถุดิบและเชื้อเพลิง ณ ที่แห่งนั้น รวมถึงพิจารณาความเสี่ยงและระยะเวลาดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการจัดส่งที่กำหนดด้วย ในตลาดเหล็กที่ผันผวน การเลือกวิธีการขนส่งสินค้าที่มีระยะเวลาขนส่งนานปัจจัยเหล่านี้ถือว่า ส่งผลกระทบกับต้นทุนไม่น้อยเลย เหมือนอย่างช่วงโควิดที่สินค้าเดินทางข้ามประเทศทุกประเภทมีราคาพุ่งสูงขึ้นเป็นเท่าตัว

 

แต่ละช่วงเวลาของปี

แต่ละช่วงเวลาของปีล้วนมีผลกับหลายอุตสาหกรรม แน่นอนว่า อุตสาหกรรมที่ผลิตและใช้เหล็กมาเป็นส่วนประกอบก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างกัน ทั้งเรื่องของวันหยุด สภาพอากาศ และช่วงสูงสุดและต่ำสุดตามฤดูกาลล้วนส่งผลต่อต้นทุนของผลิตภัณฑ์ทั้งสิ้น ถึงจะควบคุมเรื่องการผลิตได้ใกล้เคียงทุกขั้นตอนต่างจากการเก็บผลผลิตจากธรรมชาติก็ตาม แต่ช่วงเวลาแต่ละฤดูกาลก็สร้างความยากง่ายและอุปสรรคในการทำงานที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะช่วงฤดูที่มีความชื้นสูงให้ทำงานยากอย่างฤดูฝน (แม้จะไม่เสมอไปก็ตาม) เพราะงั้นนอกจากต้นทุนจะอิงกับการเพิ่มหรือลดอุปสงค์อุปทาน เรายังได้เห็นด้วยว่าฤดูกาลส่งผลต่อรูปแบบการขนส่งและรูปแบบการขนส่งอย่างไร แน่นอนว่า ถ้าสังเกตดีๆ ราคาของเหล็กจะมีความผันผวนไปตามช่วงเวลาด้วย

 

ปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่างๆ จำเป็นต้องติดตาม เพื่อคาดการณ์แนวโน้มราคาเหล็กในตลาดโลกล่วงหน้า ลดโอกาสเกิดการขาดทุนจากการผันผวนของราคาเหล็กทุกรูปแบบในแต่ละช่วงเวลา นอกจากนี้ อย่าลืมติดตามปัจจัยอื่นด้วย เช่น ต้นทุนการผลิตของแต่ละโรงงาน ต้นทุนวัสดุอื่น เป็นต้น